Tuesday, December 17, 2013

วิถี Agile ของ Spotify "วัฒนธรรมนำขั้นตอน" PART 1



Agile66 Community Event by Henrik Knilberg

"Culture Over Process"


เมื่อวานนี้ได้ไปงานตามลิ้งค์ข้างบนมา ซึ่งมี 1 ใน 20 บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก Agile "Henrik Knilberg" มาพูดให้ฟังเกี่ยวกับ บ. Spotify ซึ่งทำแอพเล่นเพลงที่จ่ายเงินรายเดือน แล้วสามารถเล่นทุกเพลงในโลกได้ไม่จำกัด (คล้ายๆ Netflix ที่สามารถดูหนังอะไรก็ได้ผ่านทีวีไม่จำกัดแลกกับค่าใช้จ่ายรายเดือน) ทำไมบริษัทขยายชึ้นๆทุกปีแต่พนักงานมีความสุขเป็นบ้า ใช้ Agile ยังไงถึงมาได้ขนาดนี้

ปล. Netflix และ Spotify ไม่เปิดบริการในไทย เหตุผลไม่รู้เหมือนกันแต่ถ้าเปิดนี่... คงเจออะไรซักอย่างจากคนไทยหัวใสจอมประยุกต์ 5555

เอ็นทรี่นี้ไม่ได้กะจะสรุปที่เขาพูดมาทั้งหมด แต่คงจะมีส่วนเล็กๆน้อยๆจากที่ฟังมาที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟังกันครับ เพราะบางอันฟังไม่ทัน เอามาเล่าแล้วกลัวผิดเล่าเป็นส่วนๆเท่าที่ฟังทันแล้วกัน ไปกันเลย!


สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่า Agile คืออะไร มันคือกลุ่มของวิธีการทำงานที่คนรุ่นใหม่เริ่มสนใจกันมากขึ้นเรื่อยๆครับ เน้นความคล่องตัวตามชื่อของมัน หลักการคือจะวนพัฒนาสินค้าของเราซ้ำๆให้พอใช้งานได้ แล้วเสริมแต่งให้ใหญ่ขึ้นโดยทำซ้ำๆไปเรื่อยๆ แทนที่จะทำโป้งเดียวเสร็จก้อนใหญ่ใช้เวลา 1 ปีแล้วมาปวดหัวแก้กันทีหลังอีกระลอกใหญ่ แบบนั้นมันช้าเกินไป ถ้าเรารีบปล่อยสินค้าออกไปก็ได้รับ feedback ไว กลับมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ทันการความต้องการของลูกค้านั่นเองครับ Agile ที่ฮิตๆที่ใช้กันก็เช่น Scrum, Extreme Programming, Kanban อะไรก็ว่าไปถ้างงก็ไปเสิจเอง

ณ ปี 2006 ธุรกิจเพลงกำลังย่ำแย่...



บริษัท Spotify เกิดขึ้นเพื่อต่อสู้กับกองกำลังเพลงเถื่อนที่ระบาดไปทั่วโลกอินเทอร์เน็ต ด้วยแอพที่เหมือนว่าคุณได้ซื้อทุกเพลงในโลกไว้กับตัวแล้ว!


ซึ่งปัจจุบันไม่ธรรมดาเลยทีเดียวเพราะมีคนใช้ตั้ง 24 ล้านคน ที่จ่ายตังตั้ง 6 ล้าน แถมมีหน่วยพัฒนาตั้ง 4 แห่ง


ประเด็นสำคัญที่ต้องมาพูดวันนี้คือ พนักงานคูณ 2 ทุกๆปี เติบโตขนาดนี้ แต่ผลสำรวจออกมาว่าพนักงานแฮปปี้สุดๆ ดูจากผลสำรวจในภาพซ้ายที่บอกว่ามีพนักงานกี่เปอร์เซ็นต์ที่จะแนะนำ บ. ของตนให้กับเพื่อนฝูง ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะตั้ง 95%!! ชนะ Facebook ด้วยนะ ผมเองก็เพิ่งจะรู้นี่แหละว่ามันยิ่งใหญ่ขนาดนี้

Born Agile


"Agile is fragile" เป็นคำพูดที่เขาคนนี้พูดไว้ตอนต้นบรรยาย ว่าการที่ส่วนเล็กๆในองค์กร ริเริ่มมาใช้ Agile กันเองนั้นมันทำอะไรไม่ได้ เพราะสุดท้าย Culture ส่วนใหญ่.. ความเป็น Corporate มันจะค่อยๆกัดกินความ Agile จนสู้ไม่ได้ต้องตามน้ำไป แต่ Spotify ไม่ใช่ เราเกิดมาแบบ Agile เพื่อสร้าง Culture แบบ Agile ตั้งแต่แรก


แรกๆก็ใช้หลักหนึ่งของ Agile ที่เรียกว่า Scrum นั่นแหละ ซึ่งมีหลักกงหลักการวิธีขั้นตอนมากมายที่ต้องเคารพที่เขากำหนดกันมาช้านาน หลังๆเรารู้สึกได้ว่าไอ้ขั้นตอนวิธีที่ทำตามหนังสือพวกนี้ มันเริ่มทำให้การทำงานช้าลงแล้วล่ะ 


ซึ่งทำให้เราระลึกถึงหลักการ Shu Ha Ri  (守破離) ขึ้นมา เปรียบกับการเล่นสกีที่แรกๆ (Shu) ก็วางขาเป็นรูปภูเขามันก็จะไปได้ แต่เมื่อเราเข้าใจมันแล้วเราก็จะเอากฎพวกนั้นมาประยุกต์ (Ha) และช่างหัวมัน (Ri) ในที่สุด เราค้นพบว่าเรากลัวจะทำ Scrum ผิดหลักจนเกินไป จนต้องบัญญัติศัพท์ Scrumbutophobia ขึ้นมาเลยทีเดียว - - (แปลว่าโรคกลัวจะ Scrum ผิด) แสดงให้เห็นว่าเราอยู่ที่ Shu กันมากเกินไป 


เราเลยคิดได้ว่า Agile > Scrum อย่าทำมันเลย Scrum เราจะ Agile ก็พอ เราเอา Scrum master ออกไปซะ เปลี่ยนชื่อเป็น Agile coach และเราเชื่อว่า Principle > Practices ก็คือพวก Scrum practices ที่สืบต่อกันมานี้เราจะไม่ใส่ใจมันมาก จากก้อนเมฆ Principles ที่เห็นในภาพข้างบน จะก่อให้เกิดสิ่งที่เราแคร์มากที่สุดคือ "Autonomous Team กลุ่มที่ดำเนินไปได้ด้วยตัวมันเอง" คำนี้จะเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญเลยล่ะ เริ่มจะเหมือนหัวข้อที่บอกไว้ว่า วัฒนธรรมนำขั้นตอน แล้วนะ

Autonomy > Consistency


ถ้าใครเคยใช้ Scrum ซึ่งเป็นหนึ่งใน Agile จะพบว่ามันมีความ Consistent สูง มีระยะเวลามีกฏอะไรให้เคารพแต่ Spotify เชื่อว่าความ Autonomy สำคัญกว่า เราจะพยายามทำไงก็ได้ให้ทีมมันสามารถดำเนินไปด้วยตัวเองอย่างเป็นธรรมชาติได้ ไม่ต้องมา Consistent อะไรกับกฏ Scrum

Autonomous Squad




บ. นี้ก็เลยคิดศัพท์นี้กันขึ้นมาเอง "หน่วยที่เลี้ยงตนเองได้"! (ต่อไปนี้จะเรียก Squad) ซึ่งนิยามก็คือทีมเล็กๆ (6-7 คน) ที่ดูแลกันเอง ทำงานในที่เดียวกัน และที่สำคัญคือสิ่งที่พวกเขาสร้างกัน พวกเขาต้องดูแลด้วยกันเองแบบ End-to-end (ตั้งแต่ออกแบบ วางระบบ ซ่อมบำรุง ทำให้หมดต้นยันจบ) พวกเขาจะตัดสินใจกันเองว่าจะทำอะไรสร้างอะไร ในกรอบของภารกิจบริษัท เป็นวิธีการทำงานที่ผมว่าดูน่าสนุก น่าสนใจเลยทีเดียว


ออฟฟิศนี่ก็ออกแบบมาให้สำหรับทำงานเป็น Squad เลย ก็มีที่ทำงานแบบ back-to-back อยู่ฝั่งขวาเพื่อให้เห็นกันและกันตลอดเวลา และมีบริเวณ lounge ให้คุยกันอยู่ทางซ้าย มีทีวีไว้ติดต่อกับที่อื่น สถานที่แห่งนี้จะช่วยให้รู้สึกว่า เราต้องดูแลกันเองแล้วนะ! ภายใต้บริษัทอันใหญ่โต ถ้ารู้สึกแบบนี้ได้ก็น่าจะสนุกดีครับผมว่า


เรายังค้นพบอีกด้วยว่าการให้ภารกิจกว้างๆ (เช่น "เพิ่มจำนวนผู่ใช้รายเดือนกันเถอะ") ช่วยเพิ่ม Autonomy ให้กับ Squad ได้ เพราะส่งเสริมให้เกิดการช่วยกันคิดแก้ปัญหากันภายใน Squad


หน้าตาโปรแกรม Spotify เป็นแบบนี้ ก็จะเห็นว่า แต่ละ Squad ก็จะทำเพียงส่วนเล็กๆของพวกเขาเอง เช่น Squad ปุ่ม Play, Squad แนะนำเพลง, Squad ทำหน้าตาบน iOS เป็นต้น แต่ละ Squad ก็จะดูแลแค่ส่วนของตัวเองแบบ End-to-end


ที่เราย้ำนักหนากับความ Autonomy นี้ก็เพราะ มันช่วยให้เกิดแรงผลักดัน เกิดความเร็ว และขยายออกได้ดังที่เห็นในปัจจุบันที่พนักงานเป็นพัน แต่เพราะมี Autonomous Squad ทำให้ทุกอย่างยังไปของมันเองได้เหมือนเดิม ไม่สะทกสะท้านกับขนาดที่ใหญ่ขึ้นเลยซักนิด ซึ่งตรงกับหลักการหนึ่งในหนังสือ Drive ของ Daniel H. Pink ที่เขาแนะนำว่าดีมาก (ในงานมีคนยกมือว่าเคยอ่านอยู่จำนวนหนึ่งเลย) เป็นหนังสือที่อธิบายว่าอะไรกันแน่ที่ดลใจคน น่าหามาอ่านนะ

*ภาพประกอบต่อไปนี้จะกากลงเพราะไอพอดแบตหมด Xperia M กล้องกากโคตร ที่เขียวเพราะภาพต้นฉบับเป็นสีน้ำเงินยิ่งอ่านไม่ออกมากกว่านี้ - -


ใน Squad ก็จะมีการ demo กัน ในแต่ละ squad ก็จะมี stakeholder (ตัวแทนลูกค้า) ของตนเองคอยยืนดูการนำเสนอดังที่เห็นคนยืนอยู่รอบนอกสุดในภาพ

ที่ผ่านมาอาจจะพูดเรื่อง Squad & Autonomy ยาวหน่อย แต่มันเป็นแกนสำคัญเลยครับ ใน PART 2 เราจะมาดูกันว่ามีสิ่งดีๆอะไรบ้างที่จะตามมาจากหลักการ Autonomy ของ Spotify ครับ

ปล. PART2 ไม่มีแล้วเพราะสิ่งมหัศจรรย์ที่เรียกว่าความขี้เกียจนั่นเองครับ

No comments:

Post a Comment